วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

คำสันธาน

คำสันธาน คือ คำที่ใช้เชื่อมประโยคหรือข้อความให้ติดกันเป็นเรื่องเดียวกัน ประโยคหรือข้อความที่ได้อาจมีลักษณะเป็นเหตุเป็นผลกัน ขัดแย้งกัน คล้อยตามกัน หรือให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ กับ และ จึง ถ้า เพราะ เพราะฉะนั้น...จึง เพราะว่า แต่ หรือ มิฉะนั้น ถึงแม้ว่า เมื่อ ครั้น...จึง ถึง...ก็ ดังนั้น...จึง
ประโยคที่มีภาคแสดงเหมือนกันหลายประโยค เราสามารถรวมเป็นประโยคเดียวกันได้โดยใช้สันธาน กับ และ เป็นคำเชื่อม เช่น
ทิพย์ไปโรงเรียน + อิ๋วไปโรงเรียน + รัตน์ไปโรงเรียน = ทิพย์ อิ๋ว และรัตน์ไปโรงเรียน
มะลิรักพี่มาก + มะลิรักน้องมาก = มะลิรักน้องกับพี่มาก
คำสันธานเชื่อมประโยคที่เป็นเหตุเป็นผลกัน เช่น ถึงเขาจะป่วยเขาก็ยังไปโรงเรียน
คำสันธานเชื่อมประโยคที่ให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เธอจะไปเที่ยวกับฉันหรือจะอยู่เฝ้าบ้าน
หน้าที่ของคำสันธาน[แก้ไข]
เชื่อมคำกับคำ หรือ กลุ่มคำกับกลุ่มคำ
เชื่อมประโยคความรวม
เชื่อมประโยคความซ้อน
เชื่อมข้อความกับข้อความให้สัมพันธ์กัน
ความหมายของคำสันธาน
 คำสันธาน  หมายถึง  คำที่ใช้เชื่อมประโยค หรือข้อความกับข้อความ  เพื่อทำให้ประโยคนั้นรัดกุม  กระชับและสละสลวย  เช่นคำว่า
และ  แล้ว  จึง  แต่  หรือ  เพราะ  เหตุเพราะ  เป็นต้น เช่น               
  -  เขาอยากเรียนหนังสือเก่งๆ แต่เขาไม่ชอบอ่านหนังสือ
                                    -  เขามาโรงเรียนสายเพราะฝนตกหนัก
ชนิดของคำสันธาน
 คำสันธานแบ่งเป็น  ๔  ชนิด ดังนี้
๑. คำสันธานที่เชื่อมความคล้อยตามกัน  ได้แก่คำว่า  และ  ทั้ง...และ  ทั้ง...ก็ ครั้น...ก็  ครั้น...จึง  ก็ดี  เมื่อ...ก็ว่า  พอ...แล้ว เช่น
               -  ทั้งพ่อและแม่ของผมเป็นคนใต้
               -  พอทำการบ้านเสร็จแล้วฉันก็นอน
๒. คำสันธานที่เชื่อมความขัดแย้งกัน  เช่นคำว่า  แต่  แต่ว่า  กว่า...ก็  ถึง...ก็ เป็นต้น  เช่น
               -  ผมต้องการพูดกับเขา แต่เขาไม่ยอมพูดกับผม
               -   กว่าเราจะเรียนจบเพื่อนๆ ก็ทำงานหมดแล้ว
๓. คำสันธานที่เชื่อมข้อมความให้เลือก  ได้แก่คำว่า  หรือ  หรือไม่  ไม่...ก็ หรือไม่ก็  ไม่เช่นนั้น  มิฉะนั้น...ก็  เป็นต้น  เช่น
               -  นักเรียนชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์หรือภาษาไทย
               -  เธอคงไปซื้อของหรือไม่ก็ไปดูหนัง
๔ คำสันธานที่เชื่อมความที่เป็นเหตุเป็นผล  ได้แก่คำว่า  เพราะ  เพราะว่า ฉะนั้น...จึง  ดังนั้น  เหตุเพราะ  เหตุว่า  เพราะฉะนั้น...จึง  เป็นต้น เช่น
               -  นักเรียนมาโรงเรียนสายเพราะฝนตกหนัก
               -  เพราะวาสนาไม่ออกกำลังกายเธอจึงอ้วนมาก
 หน้าที่ของคำสันธาน  มีดังนี้คือ
๑.  เชื่อมประโยคกับประโยต เช่น
                -  เขามีเงินมากแต่เขาก็หาความสุขไม่ได้
                -  พ่อทำงานหนักเพื่อส่งเสียให้ลูกๆ ได้เรียนหนังสือ
                -  ฉันอยากได้รองเท้าที่ราคาถูกและใช้งานได้นาน
๒.  เชื่อมคำกับคำหรือกลุ่มคำ เช่น
                -  สมชายลำบากเมื่อแก่
                -  เธอจะสู้ต่อไปหรือยอมแพ้
                -  ฉันเห็นนายกรัฐมนตรีและภริยา
๓.  เชื่อมข้อความกับข้อความ เช่น
                -  ชาวต่างชาติเข้ามาอยู่เมืองไทย เขาขยันหมั่นเพียรไม่ยอมให้เวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์เขาจึงร่ำรวย จนเกือบจะซื้อแผ่นดินไทยได้ทั้งหมดแล้ว เพราะฉะนั้นขอให้พี่น้องชาวไทยทั้งหลายจงตื่นเถิด จงพากันขยันทำงานทุกชนิดเพื่อจะได้รักษาผืนแผ่นดินของไทยไว้
คำสันธาน หรือ คำที่ใช้เชื่อมประโยคหรือถ้อยคำให้มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกัน แบ่งออกมาได้ 5 แบบหลัก
1. คำสันธานที่เชื่อมประโยคที่มีใจความคล้อยตามกัน
เป็นคำสันธานที่เชือมประโยค 2 ประโยคมีเนื้อหาในทิศทางเดียวกัน อาจจะเป็นทิศทางที่เห็นด้วยเหมือนกัน หรือ ไม่เห็นด้วยเหมือนกัน เช่นคำว่า ก็ กับ และ ครั้นก็ เมื่อก็ พอก็
ตัวอย่างประโยคที่ใช้คำสัญธานเชื่อมประโยคที่มีใจความคล้อยตามกัน
พ่อกับแม่ จะมาเที่ยวหาพวกเราในวันพรุ่งนี้
เมื่อ พวกเราดูทีวีเสร็จ ก็ ต้องอย่าลืมถอดปลั๊กไฟ
2. คำสันธานที่เชื่อมความขัดแย้งกัน
เป็นคำสันธานที่เชื่อมประโยค 2 ประโยคที่มีความหมายขัดแย้งกัน เช่นคำว่า แต่ แต่ว่า แต่ก็ กว่าก็ ถึงก็ แม้ก็
ตัวอย่างประโยคที่ใช้คำสัญธานเชื่อมความขัดแย้งกัน
พี่จะดูข่าว แต่ ฉันจะดูละคร *แสดงความขัดแย้งกัน (คนละเรื่องกัน)
ถึงเขาจะไม่หล่อ แต่ ใจของเขาหล่อ *แสดงความขัดแย้งกัน เอาคำตรงข้ามาใช้ด้วยเพื่อให้เห็นถึงความขัดแย้ง
3. คำสันธานที่เชื่อมความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
เป็นคำสันธานที่เชื่อประโยค 2 ประโยค แต่จะเป็นการเชื่อมแบบมีทางเลือก โดยเลือกทางใดก็ทางหนึ่ง เช่นคำว่า หรือ มิฉะนั้น หรือไม่ก็ ไม่ก็
ตัวอย่งประโยคที่ใช้คำสัญธานที่เชื่อมความให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
เธอจะกิน หรือ จะเล่น *ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งว่า จะเอาแบบไน
เธอจะเรียน หรือไม่ก็ เธอจะเล่นก็สุดแล้วแต่เธอ
4. คำสันธานที่เชื่อมความที่มีใจความเป็นเหตุเป็นผล
เป็นคำสันธานที่เชื่อมประโยค 2 ประโยค โดยมีการอ้างอิงถึงเหตุและผล หรือ สาเหตุ เช่นคำว่า จึง ดังนั้น ฉะนั้น เหตุเพราะ เหตุว่า เพราะฉะนั้นจึง ฉะนั้นจึง
ตัวอย่างประโยคที่ใช้คำสันธานเชื่อมความที่มีใจความเป็นเหตุเป็นผล
ก้อยมาโรงเรียนสาย เพราะ เมื่อคืนก้อยอ่านหนังสือดึก *เป็นการให้เหตุผลว่ามาสายเพราะอะไร
เฟิร์นเข้าเว็บ Dekteen ทุกวัน จึง สอบได้ที่หนึ่ง

5. คำสันธานที่เชื่อมความให้สละสลวย
เป็นคำสันธานที่เชื่อมประโยค 2 ประโยคโดยเน้นความไพเราะของประโยค เป็นหลัก เช่นคำว่า อย่างไรก็ดี อย่างไรก็ตาม โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง สุดแต่ว่า
ตัวอย่างประโยคที่ใช้คำสันธานเชื่อมความให้สละสลวย
ต้อยชอบเลี้ยงหมาโดยเฉพาะหมาที่เห่าเก่ง
อย่างไรก็ดีพวกเราทุกคนต้องตั้งใจเรียน
…………………………………………………………………………………………

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น